สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

วิสัยทัศน์
คนมหาสารคามมีสุขภาพดี เครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน องค์กรและบุคลากรด้านบริการสุขภาพมีคุณภาพ ภายใต้วิถีพอเพียง
พันธกิจ
1. Move health care to health : ลดการดูแลรักษา สู่การสนับสนุน ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี
2. Move hospital to community : ลดจำนวนผู้รับบริการในโรงพยาบาล ให้กลับสู่ชุมชน
3. Move quality to value : เพิ่มคุณภาพชีวิตสู่การมีคุณค่าในตนเองของประชาชน
4. การทำงานโดยมุ่งเน้น Core Business of MoPH : Disease Control (ก่อนป่วย/ป่วยไม่รุนแรง/ป่วยรุนแรง/หลังป่วย)
5. การพัฒนามุ่งสู่องค์กรยกระดับเพิ่มผล (Leverage Organization) ในงานบริการสุขภาพ
6. การมุ่งดำเนินงานตามทิศทางนโยบาย (Policy Direction) คือ (1) Information Improvement (2) Value Management : Monitoring (3) Culture Change (4) Strategic Focus
อำนาจหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 ตามที่ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560 ได้ระบุมีอํานาจหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทําแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด
(๒) ดําเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด
(๓) กํากับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ จังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย
มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและ มีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง
(๕) พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ ในเขตพื้นที่จังหวัด
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ
ที่ได้รับ มอบหมาย แนวทางการทำงานที่ต้องมุ่งเน้น
1. มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชน อย่างเป็นรูปธรรมและมีความเสมอภาค
2. มุ่งเน้นดำเนินการให้เสร็จในหนึ่งปี และมีผลต่อเนื่องในระยะยาวอย่างยั่งยืน
3. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อย่างกว้างขวาง บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์
4. มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรสุขภาพ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ

เป้าประสงค์สำคัญเร่งด่วน
1. เพิ่มคนสุขภาพดี โดยการเน้นลดความเสี่ยงและพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัยมุ่งเน้นการจัดการปัญหากลุ่มวัย ในวัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยสูงอายุ โดยใช้หลักการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
2. ลดคนป่วย โดยใช้หลักการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) พร้อมทั้งการเข้าถึงบริการ/คุณภาพบริการ และมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเรื่องสำคัญ
(1) Food safety: Diarrhea, food poisoning
(2) NCD [เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง: Gate; CKD clinic
(3) โรคติดต่อ: Surveillance & Disease Control โควิด-19 โรคไข้เลือดออก วัณโรค ภัยสุขภาพ
3. ขยายการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยใช้หลักการบริหารยุทธศาสตร์ร่วมกับ
(1) ศูนย์เด็กเล็ก (อบจ./เทศบาล/อบต.)
(2) โรงเรียน (กระทรวงศึกษาธิการและเทศบาล)
(3) โรงงาน (กระทรวงแรงงานและภาคเอกชน)
(4) ชุมชน
(5) ภาครัฐทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
(6) ภาคท้องถิ่น และภาคเอกชน
เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของเครือข่ายให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ